ตราสัญลักษณ์ “จุลกฐิน”
ปฐมกาลแห่งจุลกฐินของวัดจันทน์ประดิษฐ์
สะพานไม้เชียงคำ บรบือ มหาสารคาม
วันเสาร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
สัญลักษณ์เน้นบ่งบอกไปถึงที่แหล่งที่มาของผืนผ้าไตรจีวรจุลกฐิน และรูปแบบตามศิลปะวัฒนธรรมอีสาน
ลักษณะและแนวคิด :
จากหูกเครื่องทอผ้า จากเส้นด้ายผ่านฟืมทอกลายมาเป็นผืนผ้า แปรเป็นรูปแบบอักษร ที่มีมุมแบบพับเหลี่ยม พับเฉียงเหมือนการพับผืนผ้า
ประดับด้วยธุงอีสาน ซึ่งเป็นธงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมพื้นถิ่น ยอดธงมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางซ้อนกันเป็นชั้นคือสัญลักษณ์จากซุ้มประตูของหมู่บ้านบ่อหลุบ
บนตัวอักษร ‘ฐ’ มีสระ อิ ซึ่งเป็นมีรูปกระสวยทอผ้า วางประกอบกันเป็นพานรองรับผ้าไตรจีวรกฐิน หรือผ้า ๓ ผืน
ซุ้มครอบผ้าไตรจีวรกฐิน มีลักษณะเป็นพานบายศรี แสดงถึงการบูชาสักการะ และประดับด้วยเศียรพญานาค ศิลปะอีสาน ๔ เศียร ซึ่งเป็นสัตว์ประเสริฐที่ให้การปกป้องรักษาพระพุทธศาสนา ตามความเชื่อของชาวพุทธและความนิยมของชาวอีสาน แสดงถึงการมาของพญานาค ๔ ตระกูล จากทิศทั้ง ๔ เพื่อร่วมอนุโมทนาบุญนี้
ความหมายของสี :
อักษรทั้งหมดสีเหลืองเข้ม แสดงถึงสีของผ้าจีวร สีราชนิยม พื้นหลังสีม่วงแดง เกิดจากสีประจำวันวันเสาร์ผสมกับสีกลีบดอกบัวหลวงซึ่งเป็นสีชมพู
.
พระเอกชัย อรินฺทโม
Graphic งานวัด
๓ กันยายน ๒๕๖๕